การขับเคลื่อนอุตสาหกรรมสีเขียวของกระทรวงอุตสาหกรรมตั้งอยู่บนแนวคิดความสมัครใจของสถานประกอบการที่ต้องการดำเนินธุรกิจให้เป็นมิตรกับชุมชนและสิ่งแวดล้อม เพื่อมุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน โดยดำเนินการอย่างเป็นระบบใน 5 ระดับ
ระดับที่ 1
ความมุ่งมั่นสีเขียว (Green Commitment) คือ การแสดงความมุ่งมั่นในรูปแบบของนโยบาย เป้าหมายและแผนงานที่จะลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและมีการสื่อสารภายในองค์กรให้ทราบโดยทั่วกัน
ระดับที่ 2
ปฏิบัติการสีเขียว (Green Activity) คือ การดําเนินกิจกรรมตามนโยบาย เป้าหมายและแผนงานที่กําหนด เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นรูปธรรมและสําเร็จตามความมุ่งมั่นที่ตั้งไว้
ระดับที่ 3
ระบบสีเขียว (Green System) คือ การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบมีการติดตามประเมินผลและทบทวนเพื่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง หรือการได้รับรางวัลด้านสิ่งแวดล้อมอัน เป็นที่ยอมรับ หรือได้รับการรับรองมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมต่างๆ
ระดับที่ 4
วัฒนธรรมสีเขียว (Green Culture) คือ การที่ทุกคนในองค์กรมีจิตสํานึกร่วมกันในการสงวน
และรักษาไว้ซึ่งสิ่งแวดล้อมที่ดีและให้ความร่วมมือร่วมใจในทุกด้านของการประกอบกิจการให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและดําเนินการต่างๆ จนกลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมองค์กร
ระดับที่ 5
เครือข่ายสีเขียว (Green Network) คือ การขยายขอบเขตของการเป็นอุตสาหกรรมสีเขียว จากภายในองค์กรเองออกสู่ภายนอกตลอดโซ่อุปทาน (Supply Chain) โดยสนับสนุนให้คู่ค้า และพันธมิตรเป็น อุตสาหกรรมสีเขียวด้วย
การพัฒนาตามขั้นตอนของ “อุตสาหกรรมสีเขียว” จากระดับที่ 1 ถึงระดับที่ 5 จึงเป็นกระบวนการที่เริ่มจากง่ายไปยาก คือ ตั้งแต่การแสดงความมุ่งมั่นส่วนตัวภายในโรงงานของอุตสาหกรรมสีเขียว ระดับที่ 1 เรื่อยไปจนถึงการสร้างวัฒนธรรม และการได้รับการยอมรับจากชุมชนผู้อยู่อาศัยโดยรอบโรงงาน ซึ่งขั้นตอนสุดท้ายของการสร้างเครือข่ายสีเขียว (อุตสาหกรรมสีเขียวระดับที่ 5) โดยโรงงานจะต้องยื่นสมัครขอรับการรับรอง และต้องผ่านการประเมินจากคณะกรรมการด้วย
อ้างอิงข้อมูลจาก :
คู่มืออุตสาหกรรมสีเขียวสำหรับผู้ประกอบการ โครงการอุตสาหกรรมสีเขียว สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมสีเขียว สำนักปลัดกระทรวง
นิตยสาร Green Network ฉบับที่ 96 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2562 คอลัมน์ GREEN Industry โดย ดร.วิฑูรย์ สิมะโชคดี